การยศาสตร์ (Ergonomics)
การยศาสตร์ในสำนักงาน
คือ การจัดสภาพการทำงานในสำนักงานให้เหมาะสมกับพนักงานโดยให้ความสำคัญในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์เพื่อลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ซึ่งไม่ได้หมายถึงการทำงานกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่รวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบกับการทำงานในสำนักงาน โดยการยศาสตร์จะกล่าวถึงท่าทางการทำงานที่เหมาะสมกับสรีระสามารถทำให้ทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
กลุ่มอาการที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์กลายมาเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่มีประโยชน์มากจน หลายคนแทบจะขาดไม่ได้ แต่การใช้งานคอมพิวเตอร์มาก เกินไปเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติต่างๆที่จะตามมาโดยเรียกกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับนักเล่นคอมพิวเตอร์นี้ว่า คอมพิวเตอร์ซินโดรม ( Computer syndrome)
อาการและอาการแสดง
- ปวดต้นคอและหัวไหล่
- ปวดสะบัก ปวดข้อมือและนิ้วมือ
- ปวดแสบร้อนหรือระคายเคืองใบ-หน้าและลูกตา
- ปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะ
- ปวดหลัง ปวดตะโพก ปวดน่อง
- ปวดใต้ข้อพับ ปวดเท้า
การจัดสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ
จะช่วยลดอาการปวดหรือความเมื่อยล้าจากการทำงานได้ สามารถทำได้ง่ายๆโดยการปรับความสูงของโต๊ะ เก้าอี้ รวมทั้งจัดวางตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเคอร์ อุปกรณ์สำนักงานต่างๆและเอกสาร ให้เหมาะสมแก่การใช้งานของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถทำได้โดยวิธีดังนี้
หน้าจอ
- ควรวางให้ขอบหน้าจอบนของคอมพิวเตอร์ตรงกับระดับสายตาและแหงนทำมุมตั้งฉากกับสายตา
Keyboard และ Mouse
- ต้องอยู่ในแนวเดียวกับความสูงของแขนท่อนล่าง ขณะทำมุมตั้งฉากกับแขนท่อนบน
- ถ้าลักษณะของงานต้องพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ให้วาง Keyboard ไว้ด้านหน้าแต่ถ้าลักษณะของงาน
- ใช้ Mouse มากกว่าก็ให้นำ Mouse มาวางให้ใกล้ตัวมากที่สุด
- ใช้วัสดุที่นิ่มรองบริเวณบริเวณข้อมือ เพื่อป้องกันการกดทับและเสียดสีบริเวณข้อมือ
ในการใช้ Keyboard และ Mouse ควรวางมือให้อยู่ในแนวตรง ไม่ควรกระดก งอ หรือเอียงมือเกินไป
โต๊ะทำงาน
- สามารถปรับระดับความสูงให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและสามารถสอดขาเข้าไปในโต๊ะได้
- ความสูงของบนโต๊ะทำงาน ควรนำสิ่งที่ต้องใช้บ่อยๆมาวางไว้ใกล้ตัว จะทำให้ไม่ต้องเอื้อมมือเกินไป
- ถ้าต้องใช้โต๊ะเขียนหนังสือ โต๊ะควรมีความสูงพอที่คอไม่ก้มมากเกินไปเพื่อเขียนเอกสาร
เก้าอี้
- สามารถปรับระดับความสูงให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้
- ความสูงของเก้าอี้ต้องพอดีกับความยาวของขาท่อนล่าง(อาจใช้เก้าอี้เล็กเสริมเป็นที่พักเท้า)
- ระดับของหัวเข่าควรต่ำกว่าระดับของสะโพก เล็กน้อยเพื่อทำให้หลังอยู่ในแนวตรงมากขึ้น
- ความกว้างของเก้าอี้ ต้องรองรับขาท่อนบนได้โดยที่ต้องไม่มีการกดทับบริเวณที่ข้อพับเข่า (เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
- ควรมีพนักพิงเพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลัง (ถ้าไม่สามารถพิงได้อาจใช้หมอนใบเล็กๆรองบริเวณหลังระดับเอว)
- มุมของพนักพิงอาจอยู่ในแนวตรงหรือเอนไปด้านหลังเล็กน้อย
- ควรมีที่พักแขนเพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อบ่า
- เก้าอี้ควรมีล้อ 5 ล้อเพื่อเพิ่มความมั่นคง
การดูแลตัวเองหลังมีอาการบาดเจ็บจากการทำงาน
1. หากมีอาการปวด/เจ็บ หลังจากทำงาน ภายใน 48 ชั่วโมง ให้ประคบเย็น ควรรู้สึกเย็นสบาย ไม่เย็นจัดจนเกินไป ประมาณ 15 – 20 นาที
2. พักการใช้งานชั่วคราวจนอาการดีขึ้น
3. ภายหลัง 48 ชั่วโมงแล้วหากยังมีอาการปวด/เจ็บหลงเหลืออยู่ ให้ประคบร้อนรู้สึกอุ่นสบายประมาณ 15 – 20 นาที
4. หาจุดกดเจ็บที่เมื่อกดแล้วรู้สึกเจ็บมากที่สุดและบริเวณนั้นจะแข็งกว่าบริเวณอื่น กดค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำ 3 5 ครั้ง หรือรู้สึกบริเวณนั้นนิ่มขึ้น
5. ทำการยืดกล้ามเนื้อบริเวณนั้น โดยยืดค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำ 3 – 5 ครั้ง
6. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
7. หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
2. พักการใช้งานชั่วคราวจนอาการดีขึ้น
3. ภายหลัง 48 ชั่วโมงแล้วหากยังมีอาการปวด/เจ็บหลงเหลืออยู่ ให้ประคบร้อนรู้สึกอุ่นสบายประมาณ 15 – 20 นาที
4. หาจุดกดเจ็บที่เมื่อกดแล้วรู้สึกเจ็บมากที่สุดและบริเวณนั้นจะแข็งกว่าบริเวณอื่น กดค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำ 3 5 ครั้ง หรือรู้สึกบริเวณนั้นนิ่มขึ้น
5. ทำการยืดกล้ามเนื้อบริเวณนั้น โดยยืดค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำ 3 – 5 ครั้ง
6. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
7. หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
การออกกำลังกายในแต่ละท่า ควรทำค้างไว้ 10 วินาที และทำซ้ำท่าละ 10 ครั้ง ( การเลือกท่าบริหารและจำนวนครั้งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความสะดวกและอาการของแต่ละบุคคล )
นอกจากนี้ควรออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อและปรับเปลี่ยนท่าทางทุกๆชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักและผ่อนคลาย
นอกจากนี้ควรออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อและปรับเปลี่ยนท่าทางทุกๆชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักและผ่อนคลาย